เรื่อง : พรบ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20) พ.ศ. 2557
เห็นประกาศ สอ.กปส.ว่าให้ดาวโหลดแบบฟอร์มกู้สามัญแบบใหม่ ตาม พรบ.แพ่งพาณิชย์ที่แก้ไข สงสัยเลยเข้าไปหาข้อมูล เพื่อที่จะได้เป็นประโยชน์แก่มวลมหาสมาชิก หลายคนคงสงสัยพอๆกับกระผม จึงขอสรุปสาระสำคัญ พรบ แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่20) พ.ศ. 2557 ดังนี้
(1) กฎหมายใหม่นี้จะเริ่มมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2558 เป็นต้นไป
(2) สัญญาค้ำประกันจะต้องระบุไว้ให้ชัดเจนว่าค้ำประกันหนี้อะไร จำนวนเท่าใด และผู้ค้ำประกันจะรับผิดชอบเฉพาะหนี้ที่ระบุไว้ชัดเจนเท่านั้น หากขาดความชัดเจน ผลจะตกเป็นคุณแก่ผู้ค้ำประกันที่อาจทำให้ผู้ค้ำประกันไม่ต้องรับผิด
(3) สัญญาค้ำประกันจะมีข้อตกลงกำหนดให้ผู้ค้ำประกันเป็นลูกหนี้ร่วมกับลูกหนี้ชั้นต้น ไม่ได้ หากฝ่าฝืนตกลงกันไป ข้อตกลงในส่วนนั้จะตกเป็นโมฆะ
(4) กรอบความรับผิดของผู้ค้ำประกันที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้บัญญัติไว้ (ตาม มาตรา 681 วรรคหนึ่ง วรรคสอง และวรรคสาม มาตรา 694 มาตรา 698 และ มาตรา 699) เจ้าหนี้กับผู้ค้ำประกันจะทำสัญญากันกำหนดไว้เป็นอย่างอื่นเพื่อขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกันให้แตกต่างไปจากที่กฎหมายกำหนดไว้ ไม่ได้ หากฝ่าฝืนทำสัญญาตกลงกันไป ข้อตกลงที่ขยายความรับผิดของผู้ค้ำประกัน นี้ จะตกเป็นโมฆะ
(5) ขั้นตอนในการที่เจ้าหนี้จะเรียกให้ผู้ค้ำประกันชำระหนี้ เดิมกฎหมายไม่ได้เขียนไว้ให้ชัดเจนนัก แต่กฎหมายใหม่ได้เขียนขั้นตอนให้เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติไว้อย่างชัดเจน หากเจ้าหนี้ปฏิบัติผิดขั้นตอน หรือไม่ปฏิบัติตามขั้นตอน อาจมีผลทำให้ผู้ค้ำประกันหลุดพ้นจากความรับผิดได้
(6) ถ้าเจ้าหนี้ลดหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ชั้นต้นเท่าใด ก็ให้ภาระความรับผิดของผู้ค้ำประกัน ลดลงเท่านั้น ข้อตกลงใดที่จะมีผลเป็นอย่างอื่น ให้ตกเป็นโมฆะ
(7) การตกลงกันไว้เป็นการล่วงหน้าว่า หากเจ้าหนี้ผ่อนเวลาให้แก่ลูกหนี้ ให้ถือว่าผู้ค้ำประกันให้ความยินยอมในการผ่อนเวลานั้นๆด้วย เช่นนี้ กฎหมายใหม่ให้ถือว่าตกเป็นโมฆะ
(8) การจำนองที่จำนองเป็นประกันหนี้ของผู้อื่น (ผู้จำนองกับลูกหนี้เป็นคนละคนกัน) จะมีข้อตกลงกันว่าหากบังคับจำนองแล้วยังเหลือหนี้อยู่เท่าใด ให้ผู้จำนองยังคงรับผิดชำระหนี้ ในส่วนที่ยังคงเหลือด้วย ข้อตกลงเช่นนี้ จะตกเป็นโมฆะตามกฎหมายใหม่
(9) กฎหมายเดิมไม่มีบทบัญญัติให้สิทธิแก่ฝ่ายผู้จำนองในการที่จะเป็นฝ่ายเร่งรัดให้มีการบังคับจำนองให้จบๆ ไป แต่กฎหมายใหม่ได้มีบทบัญญัติให้สิทธินี้แก่ผู้จำนอง ซึ่งเจ้าหนี้จะต้องบังคับจำนอง ขายทอดตลาดภายใน1ปี (โดยไม่ต้องฟ้องร้องเป็นคดีต่อศาลเพราะฝ่ายผู้จำนองเป็นฝ่ายเร่งรัดเอง)
ขอบคุณสหกรณ์ที่พยายามหาวิธีการเพื่อป้องกันความเสี่ยง รู้สึกอุ่นใจมากขึ้นครับ ชอบสโลแกนสหกรณ์มากครับ ตรงที่โปร่งใส มารถทัวร์เบิกเครื่องบิน มารถทัวร์เบิกค่าน้ำมัน มารถหลวงเบิกรถทัวร์ พักบ้านญาติเบิกดรงแรม พักบ้านตัวเบิกโรงแรม แบบนี้กรรมการสหกรณ์เราไม่ทำแน่นอนครับ สู้ๆ โปร่งใสตรวจสอบได้
โดยสมาชิก : ธรณินทร์ แก้วบัวไข
เมื่อวันที่ : 03 มี.ค. 2558 เวลา 11:38 น.